เมนู

อธิบายศัพท์ว่า อายตนะ


บทว่า อายตนํ ความว่า ถิ่นเกิดชื่อว่า อายตนะ (ดุจดัง) ใน
ประโยคนี้ว่า แคว้นกัมโพชะเป็นถิ่นเกิดของม้าทั้งหลาย ทักขิณาปถชนบท
เป็นถิ่นเกิดของโคทั้งหลาย.
สถานที่สโมสร ชื่อว่า อายตนะ เช่น ในประโยคนี้ว่า
ในอายตนะ (สโมสร) ที่น่าเริงใจ
นกทั้งหลาย ย่อมใช่อายตนะนั้น ฝูงนก
ที่ต้องการร่มเงา ก็พากันไป ฝูงนกที่
ต้องการผลไม้ก็กินผลไม้.

เหตุ ชื่อว่า อายตนะ (เช่น) ในประโยคนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
วิมุตตายตนะ
(เหตุแห่งวิมุตติ) 5 ประการเหล่านี้.
อายตนะทั้งหมดนั้น (มีความหมาย) ใช้ได้ในที่นี้. เพราะว่า มิจฉา-
ทิฏฐิกบุคคลทั้งหมด เมื่อเกิดก็เกิดในฐานะ 3 นี้เท่านั้น แม้เมื่อรวมลง ย่อม
รวมลง คือ ประชุมลง ตกลงในฐานะ 3 นี้เช่นกัน. ก็เมื่อบุคคลเหล่านั้น
เป็นมิจฉาทิฏฐิ เหตุทั้ง 3 เหล่านี้นั่นแล ชื่อว่า อายตนะ เพราะความหมาย
มีอาทิว่า เป็นเสมือนท่าน้ำ คือเป็นถิ่นที่เกิดขึ้น (แห่งลัทธิทั้งหลาย) แม้
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ติตถายตนะ. อนึ่ง ชื่อว่า ติตถายตนะ เพราะ
อรรถว่าเป็นบ่อเกิดของเดียรถีย์ทั้งหลาย ด้วยความหมายนั้นนั่นแล.
บทว่า สมนุยุญฺชิยมานานิ ได้แก่ ถูกบัณฑิตถามอย่างนี้ว่า ทิฏฐิ
เหล่านั้นคืออะไร. บทว่า สมนุคฺคาหิยมานานิ ความว่า ถูกถามด้วยดี

อย่างนี้ว่า ทิฏฐิเหล่านั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุไร. บทว่า สมนุภาสิยมานานิ
ความว่า ถูกบอกด้วยดีอย่างนี้ว่า เธอทั้งหลายจงสละคืนทิฏฐิอันลามกเหล่านั้น
เสีย. อนึ่ง บททั้ง 3 เหล่านี้ (สมนุยุญฺชิยมานานิ สมนุคฺคาหิยมานานิ
สมนุภาสิยมานานิ
) เป็นไวพจน์ของการซักถาม และการถามเหมือนกัน.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า บทว่า สมนุยุญฺชติ ก็ดี บทว่า
สมนุคฺคาหติ ก็ดี บทว่า สมนุภาสติ ก็ดี นี้เป็นอันเดียวกัน มีความหมาย
อย่างเดียวกัน เท่ากัน มีส่วนเท่ากัน เกิดจากสิ่งนั้น (เหมือนกัน) เป็นอย่าง
เดียวกันนั่นแหละ.
บทว่า ปรมฺปิ คนฺตฺวา ความว่า ถึงการสืบต่ออย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาการสืบต่อทั้ง 3 เหล่านี้ คือ อาจริยปรัมปรา (การสืบต่ออาจารย์)
ลัทธิปรัมปรา (การสืบต่อลัทธิ) อัตตภาวปรัมปรา (การสืบต่ออัตภาพ).
บทว่า อกิริยาย สณฺฐหนฺติ คือ ดำรงอยู่ในฐานะมาตรว่าเป็นอกิริยทิฏฐิ.

ปรัมปรา 3 อย่าง



ก็ ติตถายตนะเหล่านี้ ที่ดำเนินไปอยู่อย่างนี้คือ อาจารย์ของเรา
ทั้งหลาย เป็นปุพเพกตวาที (เป็นผู้มีวาทะว่า กรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็น
เหตุ) ปาจารย์ (อาจารย์ของอาจารย์) ของเราทั้งหลายเป็นปุพเพกตวาที (ลัทธิ
ที่ถือว่า สุดแต่กรรมเก่า) อาจริยปาจารย์ (ปาจารย์ของอาจารย์) ของเรา
ทั้งหลายเป็นปุพเพกตวาที. อาจารย์ของเราทั้งหลายเป็นอิสสรนิมมานวาที
(เป็นผู้มีวาทะว่า การนิรมิตของพระอิศวรเป็นเหตุ) ปาจารย์ของเราทั้งหลาย
เป็นอิสสรนิมมานวาที อาจริยปาจารย์ของเราทั้งหลายเป็นอิสสรนิมมานวาที,
อาจารย์ของเราทั้งหลาย เป็นอเหตุกอปัจจยวาที (เป็นผู้มีวาทะว่า ไม่มีเหตุ